โดย ดร.ยศพงษ์ ลออนวล
นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
ปัญหาการปลดปล่อยมลพิษของยานยนต์เป็นประเด็น ที่สหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษให้ความสำคัญมา โดยตลอด ในปี ค.ศ. 2009 สหราชอาณาจักร เริ่มมีการ กำหนดความหมายของยานยนต์มลพิษขั้นต่ำพิเศษ หรือ Ultra-low Emission Vehicle (ULEV) หมายถึงยานยนต์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไมเกิน 70 กรัมต่อกิโลเมตร จากท่อไอเสีย จากการวัดด้วยการทดสอบบนวัฏจักรการขับขี่แบบยุโรป โดยมีการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ ULEV เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการลดการปลดปล่อยมลพิษที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีปัญหามลพิษในหลายเมืองใหญ่สหราชอาณาจักรและมีค่ามลพิษเกินค่ามาตรฐานที่องค์การ อนามัยโลกกำหนด ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 รัฐบาลสหราชอาณาจักรมีการประกาศว่าจะห้ามจำหน่ายรถยนต์เครื่องยนต์ภายในปี ค.ศ. 2040 และหลังจากนั้นหนึ่งปี ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 กระทรวงคมนาคมสหราชอาณาจักร ได้มีการจัดทําารายงานชื่อว่า The Road to Zero, Next steps towards cleaner road transport and delivering our Industry Strategy เป็นรายงานที่ประกาศนโยบายประเทศและแผนการดําเนินงานอย่างเป็น ทางการ เพื่อนำไปสู่ยานยนต์ไร้มลพิษในปี ค.ศ.2040
โดยล่าสุดเมื่อวันท่ี 11-12 กันยายน ค.ศ. 2018 ท่ีผ่านมา กระทรวงคมนาคม สหราชอาณาจักร ได้จัดงาน ประชุมสุดยอดยานยนต์ไร้มลพิษ (Zero Emission Vehicle Summit) ณ เมืองเบอร์มิงแฮม (Birmingham) และ เมืองเบดฟอร์ด (Bedford) สหราชอาณาจักร โดยมี นางเทเรซา เมย์ (Theresa May) นายกรัฐมนตรีของ สหราชอาณาจักรเข้าร่วมงานและประกาศส่งเสริมให้ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศผู้นําที่มีศักยภาพในการออกแบบและผลิตยานยนต์ไร้มลพิษ และตั้งเป้าหมายภายใน ปี ค.ศ. 2040 รถยนต์ใหม่ในอังกฤษจะเป็นยานยนต์ไร้มลพิษท้ังหมด โดยมีการเชิญผู้นําประเทศจากหลายประเทศเข้าร่วมงาน รวมทั้งประเทศไทยของเรา ซึ่งนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้นําคณะจากประเทศไทยเข้าร่วมงานและสังเกตการณ์ และตัว ข้าพเจ้าเองในฐานะผู้แทนสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้มี โอกาสรับเชิญให้เข้าร่วมงานสำคัญคร้ังนี้ด้วย นอกจากนี้ บางประเทศหรือรัฐได้มีการร่วมลงนามในการประกาศ เจตนารมณ์เบอร์มิงแฮมเรื่องยานยนต์ไร้มลพิษ (Birmingham Declaration on Zero Emission Vehicles) ในครั้งน้ีอีกด้วย

ตัวอย่างแผนและเป้าหมายสำคัญ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 2020-2040
ค.ศ. 2020 มีการลงทุนเงินโดยภาครัฐ 1.5 พันล้าน ปอนด์ (ประมาณ 64,000 ล้านบาท) เพื่อให้เกิดงานวิจัย และพัฒนายานยนต์มลพิษขั้นต่ำพิเศษ หรือ ULEV รวมไป ถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในการอัดประจุไฟฟ้า ถึง 400 ล้านปอนด์ (ประมาณ 17,000 ล้านบาท) เมือง อ๊อกฟอร์ด นําร่องให้มีพื้นที่ไร้มลพิษ โดยมีแผนจะยกเลิกไม่ให้รถยนต์เครื่องยนต์วิ่งในกลางเมือง เพื่อแก้ปัญหา มลพิษ เช่น ฝุ่นละออง PM 2.5
ค.ศ. 2021 มีแผนจะกําหนดค่าใหม่ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนได์ออกไซด์ของยานยนต์ ULEV ไม่เกิน 50 กรัม ต่อกิโลเมตร
ค.ศ. 2022 ต้ังเป้าหมายให้ยานยนต์ ULEV ท่ีผลิต ในสหราชอาณาจักร จะต้องเป็นชิ้นส่วนจากสหราชอาณาจักร เป็น 50 % ของตัวมูลค่ายานยนต์ทั้งคัน
ค.ศ. 2030 ตั้งเป้าลดการปลดปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 30% เทียบกับการปลดปล่อยในปี ค.ศ. 2021 ตั้ง เป้าให้ยานยนต์ใหม่ที่มีการจำหน่ายต้องเป็นยานยนต์ ULEV อย่างน้อย 50 % ประกอบไปด้วยรถยนต์ 50-70% และรถตู้ 40 %
ค.ศ. 2035 พัฒนาแบตเตอรี่ให้มีราคา 100 เหรียญ สหรัฐ (3,300 บาท) ต่อกิโลวัตต์-ชม. และพัฒนาค่าความหนา แน่นพลังงานของแบตเตอรี่ให้ได้ถึง 1,000 Wh/L เพื่อให้ แบตเตอร์รี่ที่ผลิตภายในสหราชอาณาจักรสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ค.ศ. 2040 รถยนต์และรถตู้ใหม่ทั้งหมดต้องเป็น รถยนต์ไร้มลพิษ
ค.ศ. 2050 คาดว่ารถยนต์และรถตู้ทั้งหมดในสหราชอาณาจักรเป็นรถยนต์ไร้มลพิษ
สําหรับยานยนต์ไร้มลพิษที่มีความเป็นไปได้ ได้แก่ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ 100% และยานยนต์ไฟฟ้าไฮโดรเจน โดยสหราชอาณาจักรมีนโยบายเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology neutral approach) เพื่อให้ถึงเป้าหมาย ท่ีต้ังไว้ แต่หากศึกษาในการงบประมาณท่ีสนับสนุนในตอนน้ี ค่อนข้างเน้นในการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอร์รี่และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 100% อย่างไรก็ตามเป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 ยังมีเวลาถึง 20 ปี น่าจะทําให้เกิดการแข่งขันในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมยานยนต์ไร้มลพิษของผู้ประกอบการที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
อ้างอิง
พลังงานทางเลือก เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2561 หน้า 22-23