สำหรับผู้ใช้งาน/เจ้าของยานยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่บ้าน หรือ มีการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าภายในบริเวณที่พักอาศัย ไม่เพียงพอต่อความต้องการนั้น ทำให้กลุ่มผู้ใช้งานเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณะ
ซึ่งบริเวณที่มีการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้า มีดังนี้
- พื้นที่ขายปลีกต่าง ๆ เป็นสถานที่ที่ดึงดูดให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้บริการเป็นระยะเวลานาน และมีพื้นที่จอดรถให้บริการอยู่แล้ว จึงมักใช้การอัดประจุแบบช้าไปจนถึงการอัดประจุแบบปกติ
- สถานที่ของรัฐ หน่วยงานของราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล อาจมีการติดตั้งเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับผู้ที่เข้ามาติดต่อหรือใช้บริการ การใช้งานจะมีตั้งแต่การอัดประจุแบบช้าไปจนถึงการอัดประจุแบบเร็ว ขึ้นอยู่กับนโยบายการสนับสนุนในแต่ละพื้นที่
- จุดจอดรถ ที่มีการติดตั้งเครื่องอัดประจุสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น จุดจอดรถสำหรับอาคารหลายผู้อยู่อาศัย เครื่องอัดประจุที่ถูกติดตั้งนี้จะถูกใช้งานในลักษณะกึ่งสาธารณะ ระดับการอัดประจุมีตั้งแต่แบบช้าไปจนถึงการอัดประจุแบบปกติ
- ไหล่ทาง/ริมถนน สำหรับเขตตัวเมืองในบางประเทศที่มีการอนุญาตให้จอดรถ ณ บริเวณไหล่ทางหรือริมถนน อาจมีการติดตั้งเครื่องอัดประจุขนาดกะทัดรัดหรือติดตั้งไว้กับเสาไฟ (Lamppost Electric Vehicle Charger) ดังเช่นในประเทศอังกฤษ กำลังการอัดประจุมักจะเป็นแบบช้า แต่อาศัยการติดตั้งเป็นจำนวนมากเพื่อให้สามารถรองรับยานยนต์ไฟฟ้าได้หลายคันพร้อมกัน
- ระเบียงถนน/ทางหลวง เป็นเส้นทางที่มีปริมาณยานยนต์จำนวนมากเมื่อเทียบกับถนนทั่วไป จึงมักจะเป็นเครื่องอัดประจุแบบเร็ว เพื่อลดช่วงเวลาในขณะที่รอการอัดประจุให้น้อยที่สุด
- สถานที่ทำงาน การติดตั้งเครื่องอัดประจุในสถานที่ดังกล่าวมีประสงค์หลักคือเพื่ออำนวยให้พนักงานที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะดวกสบายในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น แต่ยังคงต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐในระยะแรก
- สถานที่ให้บริการที่พัก เป็นการติดตั้งเพื่ออำนวยให้กับผู้เข้าใช้บริการในที่พัก เช่น โรงแรม
รีสอร์ต เป็นต้น ซึ่งมักใช้การอัดประจุแบบช้าไปจนถึงการอัดประจุแบบปกติ
