โดย...รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สถิติการจดทะเบียนใหม่ของยานยนต์ไฟฟ้า เเบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เเละไฮบริด (HEV) ในปี 2562 มีจํานวนมากถึง 30,676 คัน ซึ่งคิดเป็นกว่า 150 เปอร์เซ็นต์ของยอดจดทะเบียปี 2561 ทั้งปีที่มี
จํานวนทั้งสิ้น 20,344 คัน ในส่วนของการจดทะเบียนใหม่ประเภทยานยนต์เเบบเเบตเตอรี่ (BEV) ในปี 2562 มีจํานวน 1,572 คัน ซึ่งสูงกว่ายอดจดทะเบียนใหม่ของปี 2561 ทั้งปี
ที่มีอยู่ 325 คัน
นอกจากนี้สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) คาดการณ์ว่ามีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะประมาณ 520 เเห่งทั่วประเทศ จะเห็นได้ว่าตัวเลขการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2562 มีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ เเละมีเเนวโน้มการจดทะเบียนจํานวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่ได้ยื่นข้อเสนอการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารไฟฟ้าในประเทศไทยอีกหลายบริษัทมีทั้งผู้ประกอบการเดิมและผู้ประกอบการใหม่ ทําให้มั่นใจ
ได้ว่า ประเทศไทยกําลังเดินหน้ายานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมา ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้มีส่วนในการเสนอแนะและผลักดันการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมทั้งการศึกษาและติดตามนโยบายและการดําเนินการของภาครัฐ พร้อมการจัดระดมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในหลายเวทีหลายการประชุมและในหลายโอกาส พร้อมทั้งได้จัดข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยล่าสุดออกมาอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาทางสมาคมได้จัดแถลงข่าวข้อเสนอดังกล่าวเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างเป็นทางการอีกด้วย
โดยข้อเสนอเเนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยรวมทั้งหมด 8 ข้อหลักที่จะเสนอให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่
- การจัดทํา เเผนที่นํา ทางเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าเเบบบูรณาการ (EV Roadmap) อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งต้องมีการกําหนดเป้าหมายของจํานวนยานยนต์ไฟฟ้าเเละสถานีอัดประจุไฟฟ้าอย่างเหมาะสมพร้อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศตลอดห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบูรณาการนโยบายโดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อการบูรณาการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- การพิจารณาปรับปรุงข้อกฎหมายอาทิให้รถสามล้อไฟฟ้า เเละรถรับจ้างไฟฟ้าสามารถจดทะเบียนได้อย่างเสรีรวมไปถึงการส่งเสริมการใช้รถสามล้อไฟฟ้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งเสนอให้มีการเเยกการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าระหว่างประเภทปลั๊กอิน ไฮบริด(PHEV) เเละไฮบริด(HEV)
- การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยควรออกมาตรการดังต่อไปนี้
3.1 ส่งเสริมให้ประชาชนซื้อยานยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่เหมาะสม เช่น การลดภาษีส่วนบุคคลสํา หรับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
3.2 เพิ่มแรงจูงใจสํา หรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอาทิการออกมาตรการสถานีอัดประจุไฟฟ้าตามที่จอดสาธารณะเเละเพิ่มสิทธิ
3.3 หน่วยงานรัฐควรเป็นผู้นํา ด้านการใช้รถยนต์ไฟฟ้าก่อนด้วยการจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่
3.4 ขยายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรถโดยสารสาธารณะได้เเก่ รถโดยสารสาธารณะ รถตุ๊กตุ๊ก รถเเท็กซี่ควรเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด
3.5 สนับสนุนให้มีการเเยกประเภทป้ายทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเเบบเฉพาะ โดยการใช้สีและสัญลักษณ์บนป้ายทะเบียนที่สามารถมองเห็นและแยกแยะได้สําหรับป้ายที่เป็นประเภทแบตเตอรี่หรือไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ (BEV) เเละประเภทปลั๊กอินไฮบริด เพื่อสร้างการรับรู้ของประชาชน เเละการมีส่วนร่วมของผู้ขับขี่ในการช่วยลดมลภาวะเเละรักษาสิ่งเเวดล้อม - การส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปเเบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเเละรถสามล้อไฟฟ้า
- การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเเละการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยควรจัดให้มีการสนับสนุนการสร้างงานวิจัยเเละพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ประกอบการเเละการพัฒนาเเพลตฟอร์มเเบบเปิดสํา หรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Open Platform) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนํา เเพลตฟอร์มมาต่อยอดได้
- การจัดทํามาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยควรต้องมีหน่วยงานทดสอบเเละรับรองมาตรฐานของยานยนต์ไฟฟ้าเเละเเบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพควบคู่กันโดยเเล้วใช้เเนวทางตามมาตรฐานสากล
- การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า อย่างเช่น การสนับสนุนให้มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบเร็ว (Quick Charge) ตามสถานที่สาธารณะต่างๆ
- การส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้าเช่นให้มีการอบรมเเละการจัดทํา หลักสูตรวิชาชีพในสถาบันการศึกษา
หากมีการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างจริงจังและเเพร่หลาย จะสามารถช่วยลดปัญหามลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาโลกร้อนที่กําลังลุกลามไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย รวมทั้งจะทํา ให้ประเทศเป็นผู้นํา ด้านยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนและเป็นการนําประเทศไปสู่สังคมยานยนต์ไร้มลพิษได้อย่างแน่นอน

