ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบตัวเลขที่เข้าใจได้ง่าย คำนวนมาจากปริมาณมลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด ดัชนีคุณภาพอากาศในแต่ละช่วง ก็หมายถึงคุณภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
"เลขยิ่งมีค่าสูงมาก ก็ยิ่งไม่ดี"
แต่ถ้าเลขมากกว่าเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ จะแสดงเป็นสีแดงให้เห็นว่าอยู่ในระดับอันตราย กรมควบคุมมลพิษแนะนำให้ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุก หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์
ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) , ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10), ก๊าซโอโซน (O3), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), และ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
แต่ทำไมเราสนใจเรื่อง ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กันเป็นพิเศษ?
"เพราะอันตรายต่อสุขภาพ"
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ เป็นผลทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด
บริเวณพื้นที่ในเมือง ซึ่งไม่ได้มีโรงงานอุตสาหกรรมมากนัก ปัจจัยที่ก่อให้เกิดฝุ่นขนาดเล็ก ก็หนีไม่พ้นฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์
ดร. ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยแนะรัฐเร่งปรับมาตรฐานโรงกลั่น เพื่อให้ไทยใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 5-6 ให้เร็วขึ้น ลดปัญหาผลกระทบฝุ่น pm2.5 และเร่งแผนผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าให้เร็วขึ้น

http://aqicn.org/city/bangkok/?fbclid=IwAR3z9NmuD9cwxCXWbsWcGTQEu2dcbX62W_9CwwQTqQjvgZrScFADPSPPOgc